วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จิตสดใส หรือ ใจขุ่นมัว

 จิตสดใส  หรือ  ใจขุ่นมัว

          บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อนให้ผู้อ่านใช้เป็นไม้บรรทัดวัดใจตัวเองว่า   ในชาติปัจจุบันท่านมีสภาวธรรมใสดวงจิตเป็นอย่าง  ซึ่งจะเป็นผลส่งไปยังชาติหน้าได้ตามกฏแห่งกรรม  ผู้อ่านจะเชื่อหรือไม่เชื่อเป็นสิทธิ์ของท่าน  ผู้รู้เพียงแต่บอกได้ว่า  สัตว์โลกเป็นไปตามกรรมเป็นเรื่องจริงที่พิสูจน์ได้
ความหมายของคํา
           คําว่า "จิต"   เป็นสมมุติบัญญัติที่ใช้เรียกกลุ่มหนึ่งที่มีความปรกติเข้าอยู่อาศัยในร่างกาย  พลังงานกลุ่มนี้มีหน้าที่รู้  คิด  และนึก
           คําว่า ''ใจหรือจิตใจ'  เป็นสมมุติบัญญัติที่ใช้เรียกอารมณ์หรือความนึกคิดที่เกิดขึ้นกับจิต  เช่น  จิตที่มีเมตตกรุณาเรียกว่า   "ใจดี"   จิตที่มีอารมณ์เห็นแก่ตัวเรียกว่า "ใจดํา"   จิตที่มีอารมณ์ไม่ผ่องใส  เรียกว่า "ใจขุ่น"  ฯลฯ
บุคคลในพุทธศาสนา
            ในทางพุทธาศาสนาแบ่งบุคคลได้เป็น  2  ประเภทตามสภาวธรรมที่มีอยู่ในดวงจิต  ดังนี้
             1.  ปุถุชน  หมายถึง  บุคคลที่มีใจขุ่นมัวด้วยกิเลส  หรือคือคนที่ยังมีความชั่วแฝงอยู่ในดวงจิตแล้วทําให้ใจขุ่นมัว
             2.  อริยบุคคล  หมายถึง  บุคคลที่บรรลุธรรมวิเศษ  ซึ่งมีอยู่  4  ประเภท  คือ  พระโสดาบัน  พระสกทาคามี  พระอนาคามี  และพระอะหันต์
กิเลสที่ทําให้ใจขุ่นมัว
            ปุถุชนมีกิเลสหยาบเข้ามาซึมแทรกอยู่ในดวงจิตแล้วทําให้ใจขุ่นมัว  กิเลสหยาบ  ได้แก่  โลกธรรม  วัตถุ  กิเลส (โลภ โกรธ  หลง)  ตัณหา  อุปาทาน ฯลฯ
             อิริยบุคคล  3  ประเภทแรกยังมีกิเลสละเือียดเข้ามาซึมแทรกอยู่่ในดวงจิตแล้วทําให้ใจขุ่นมัว  ซึ่งได้แก่  กิเลสที่ผูกมัดใจคนไว้กับวัฏสงสาร ( สังโยชน์ 10 )  จึงทําให้ไม่สามารถนําพาจิตวิญญานพ้นไปจากความทุกข์ได้  สังโยชน์ 10  ได้แก่  สักกายทิฏฐิ  วิจิกิจฉา  สีลัพพตปรามาส  กามราคะ  ปฏิฆะ  รูปราคะ  อรูปราคะ  มานะ  อุทธัจจะ  และอวิชชา


ผู้รู้ไม่จริงและผู้รู้จริงแท้
            ความรู้คือปัญญา  บุคคลในทางโลกเกือบทั้งหมดนิยมพัฒนาความรู้ที่เกิดจากการฟัง  การอ่าน (สุตมยปัญญา)  และการคิด  พิจารณา วิเคราะห์  วิจัย (จินตามยปัญญา)  ซึ่งผู้เขียนเรียกปัญญาเช่นนี้ว่าปัญญาทางโลก  สามารถรู้   เห็น  เข้าใจเหตุผลหรือความจริงชั่วคราว  (สภาวสัจจะ)  จึงเรียกบุคคลเช่นนี้ว่าเป็นผู้รู้ไม่จริงบุคคลที่เป็นพุทธศาสนิกบางกลุ่มนิยมพัฒนาความรู้ที่เกิดจากการทําจิตตภาวนา (ภาวนามยปัญญา)  ที่สามารถรู้  เห็น  เข้าใจเหตุผลที่เป็นจริงแ้ท้  (ปรมัตถสัจจะ)  ได้  จึงเรียกบุคคลผู้มีปัญญาเช่นนี้ว่าเป็นผู้รู้จริงแท้
สภาวธรรมในดวงจิต
            ผู้รู้ไม่จริงเอาจิตเข้าไปเป็นาสของโลกธรรม  วัตถุ  กิเลส  ตัณหา  อุปาทาน ฯลฯ 
            ผู้รู้จรงมีจิตเป็นอิสระจากกิเลสในทางโลก  แต่ยังมีีสังโยชน์  10  เป็นตัวถ่างจิตมิให้โคจรพ้นไปจากวัฏสงสาร
ใจขุ่นมัวของปุถุชน
           ปุถุชนเป็นผู้มีกิเลสหยาบปนเปื้อนอยู่ภายในดวงจิต  จึงทําให้ใจขุ่นมัวแล้วมีผลตามมา  ดังนี้
            ผู้มีจิตเป็นทาสของโลกธรรมและวัตถุ  เป็นเหตุทําให้ประพฤติทุศีล
            ผู้มีจิตเป็นทาสของความโลภ  เป็นเหตุทําให้ประพฤติคอร์รับชั่น
            ผู้มีจิตเป็นทาสของความโกรธ  เป็นเหตุทําให้มีอารมณ์ร้อน
            ผู้มีจิตเป็นทาสของความหลง  เป็นเหตุทําให้ประพฤติสวนทาง  พระนิพพาน
            ผู้มีจิตเป็นทาสของตัณหา  เป็นเหตุทําให้ชีวิตมีความทุกข์ไม่สิ้นสุด
            ผู้มีจิตเป็นทาสของอุปาทาน  เป็นเหตุทําให้ชีวิตยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏสงสาร
ฯลฯ
ใจขุ่นมัวของอริยบุคคล
            กริยบุคคลเป็นผู้มีกิเลสละเอียดปนเปื้อนอยู่ในดวงจิต  จึงทําให้มีใจขุ่นมัวเบาบางแล้วมีผลเกิดตามมา  ดังนี้  
พระโสดาบัน :  มีจิตขุ่นมัวเบาบางด้วยกิเลสละเอียดที่เรียกว่ากามราคะ  ปฏิฆะ  รูปราคะ  อรูปราคะ  มานะ อุทธัจจะ  และอวิชชา  ซึ่งมีผลทําให้
   1.  ตาย -  เกิดอีกไม่เกิน  7  ชาติ
   2.  ไม่ลงไปเกิดเป็นสัตว์อยู่ในอบายภูมิ  (เดรัจฉาน  เปรต  อสุรกาย  และนรก)  จนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน
   3.  มีความทุกข์เหลือน้อยเท้ากับขี้ฝุ่นที่ติดปลายเล็บ  เมื่อเทียบกับขี้ฝุ่นที่กําจัดได้แล้วซึ่งมีมากเท่ากับขี้ฝุ่นที่หลงเหลืออยู่ในพื้นปฐพี
   4.  ไม่ต้องการบุญจากการอุทิศ
   5.  รํ่ารวยในทิพยสมบัติ
ฯลฯ
พระสกทาคามี :  มีจิตขุ่นมัวเบาบางด้วยกิเลสลเอียดที่เรียกว่ากามราคะอย่างอ่อน  ปฏิฆะอย่างอ่อน  รูปราคะ  อรูปราคะ  มานะ  อุทธัจจะ  และอวิชชา  ซึ่งมีผลทําให้ตายแล้วไปเกิดอยู่ในภพสวรรค์ที่รํ่ารวยในสมบัติทิพย์
พระอนาคามี  :  มีจิตขุ่นมัวเบาบางด้วยกิเลสละเอียดที่เรียกว่า  รูปราคุ  อรูปราคะ  มานะ  อุทธัจจะ  และอวิชชา  ซึ่งมีผลทําให้ตายแล้วไปเกิดอยู่ในนสุทธาวาสพรหมโลก  และจะไม่ย้อนลงมาเกิดในภพสวรรค์และภพมนุษย์อีกต่อไปตราบจเข้าถึงพระนิพพาน


พระอรหันต์ผู้มีจิตสดใีส
            อริยบุคคลผู้ใช้ปัญญาเห็นแจ้งกําจัดสังโยชน์ห้าตัวที่เหลือให้หมดไปจากใจได้แล้ว  จิตย่อมสดใสปราศจากกิเลสใด ๆ  ปนเปื้อน  จิตจึงพ้นไปจากวัฏสงสารสู่พระนิพานได้เป็นเบื้องสุด


*** บทสรุปท้ายเรื่อง ***
           สัตว์บุคคลมีชีวิตเป็นของตัวเอง  จึงมีสิทธิ์เต็มร้อยในการบริหารจัดการชีวิตและสิ่งทั้งหลายสําเร็จด้วยใจ  (มโน  มยา)  เป็นความจรงแท้ฉะนั้น  ท่านผู้อ่านบทความจะบรรหารจัดการให้มีใจขุ่นมัวมาก  มีใจขุ่นมัวเบาบาง  หรือมีจิตใจไม่ขุ่นมัว  (สดใส)  พึงเลือกเอาตามที่ชอบเถิด




ที่มา...Secret

0 ความคิดเห็น:

:)) ;)) ;;) :D ;) :p :(( :) :( :X =(( :-o :-/ :-* :| 8-} :)] ~x( :-t b-( :-L x( =))

แสดงความคิดเห็น