วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การถวายอาหารที่ถูกต้องควรทําอย่างไร

การถวายอาหารที่ถูกต้องควรทําอย่างไร
การถวายอาหารแด่พระสงฆ์  เรียกว่า"ประเคน"  ซึ้งวิธีที่ต้องให้ทําดังนี้
         ผู้ชาย : นั่งคุกเข่าหรือยืนตามความเหมาะสมแก่สถานที่  ห่างจากพระสงฆ์ประมาณหนึ่งศอก  ไม่ใกล้จนเกินไป  จากนั้นให้ยกของประเคนขึ้นสูงประมาณแมวเดินลอดได้แล้วจึงน้อมตัวเจ้าไปถวาย  เมื่อถวายเสร็จแล้วไหว้หรือกราบด้วยความนอบน้อม
         ผู้หญิง : นั่งพับเพียบหรือยืนตามความเหมาะสมแก่สถานที่ห่างจากพระสงฆ์มากกว่าหนึ่งศอกกว่า ๆ  พระจะใช้ผ้ารับประเคนเพื่อนไม่ให้โดนตัว  เพราะถือกันว่าหญิงเป็นปฏิปักษ์ต่อพระ  จากนั้นให้ยกของประเคนขึ้นสูงประมาณแมวเดินลอดได้แล้วจึงน้อมตัวเข้าไปถวาย  เมื่อถวายเสร็จแล้วไหว้หรือกราบด้วยความนอบน้อม


***รู้หรือไม่
         เหตุที่ต้องประเคนของแด่พระสงฆ์  เพราะสมัยพุทธกาลมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งออกไปทําไร่ทําสวน   จึงนําอาหารไปฝากไว้ที่วัดแถวนั้นในขณะเดียวกับที่พระสงฆ์ออกไปบิณฑบาตเห็นอาหารก็เข้าใจผิดว่าชาวบ้านนํามาถวายจึงฉันจนหมด  ตกเที่ยงชาวบ้านกลับมาที่วัดเพื่อทานอาหารของตน  แต่ไม่พบเพราะพระสงฆ์ฉันจนหมดแล้ว  ชาวบ้านจึงไปฟ้องพระพุทธเจ้า  ด้วยเหตุนี้  พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติว่า  พระสงฆ์จะสามารถฉันอาหารหรือใช้สิ่งของญาติโยมได้ก็ต่อเมื่อได้รับประเคนแล้วเท่านั้น

ถวายผักผลไม้ควรทําอย่างไร
         ผลไม้ที่มีเมล็ดสามารถนําไปปลูกต่อได้  เช่น  ส้ม  ละมุด มะละกอ  ฯลฯ  มีวิธีถวายดังนี้
ผู้ถวาย : นําภาชนะที่ใส่ผักผลไม้ทั้งหมดมาวางชิดติดกัน
พระสงฆ์ : รับประเคนแล้วถามว่า "กัปปิยังกะโรหิ"  (แปลว่าทําลายแล้วหรือยัง)
ผูถวาย : ใช้มีดตัดเปลือกผลไม้หนึ่งชิ้น  โดยตัดเพียงเล็กน้อยให้ขาดออกจากกันเพื่อเป็นตัวแทนของของทั้งหมด  แล้วกล่าวตอบว่า  "กัปปิยะภันเต" (แปลว่าทําลายแล้วเจ้าข้า)  ส่วนผลไม้ที่มีเมล็ดอ่อนไม่สามารถนําไปปลูกต่อได้หรือผักที่สุกแล้ว  ไม่ต้องกล่าว  "กัปปี"  ให้ประเคนถวายได้เลย

***ถ้าอาหารมีจํานวนมาก  ยกประเคนไม่ไหว  จะทําอย่างไร
       ควรนําอาหารมาให้พระสงฆ์เห็นแล้วกล่าวคําถวายก่อน (ไม่ต้องประเคน)  หลังรับพรจากพระแล้วจึงนําอาหารไปเก็บไว้ที่โรงครัวเพื่อให้แม่ครัวทยอยแบ่งออกมาถวายพระสําหรับฉันในวันต่อ ๆ  ไป  เพราะถ้าหากพระรับประเคนทั้งหมดก็ไม่สามารถเก็บไว้ฉันได้  เพราะถือว่าเป็นยาวกาลก   มีอายุแค่เช้าถึงเที่ยงวันเท่านั้น
รู้หรือไม่
       พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ฉันอาหารหลังเที่ยงวัน  แม้พระอาพาธก็ห้ามฉัน  หากพระอาพาธฉันอาหารเช้า  กลางวัน  และเย็นเพื่อจะได้ฉันยาหลังอาหาร  ให้ถือว่าผิศีลทุกคํากลืน  คือ  ฉัน  20 คําก็ผิดศีล  20 ครั้ง  ทั้งนี้พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติว่าพระสงฆ์  สามารถดื่มนํ้าปานะแทนได้หากต้องฉันยาหลังอาหาร

ที่มา.....Secret

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เมื่อประเคนอาหารให้พระแล้วแต่ยังไม่ได้ฉันท์ ระหว่างนั้นผู้หญิงไปหยิบจับอาหารนั้นอีกได้ไหม

:)) ;)) ;;) :D ;) :p :(( :) :( :X =(( :-o :-/ :-* :| 8-} :)] ~x( :-t b-( :-L x( =))

แสดงความคิดเห็น